การสื่อสารทางคณิตศาสตร์
ว่าที่ ร.ต. ภัทรฤทธิ์ ภัทรธนชิต
สาขาคณิศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
บทนำ
คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็ยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้น
เพราะสภาพทางสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และการสื่อสารข้อมูลต่างๆ สามารถทาได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อจากัด การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์
วิทยาการสาขาวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน
ความสำคัญ ของวิชาคณิตศาสตร์จึงถือได้ว่าเป็นวิชาพื้นฐานในการศึกษาวิชาต่างๆหลายสาขา
การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รวมทั้งการแก้ปัญหาทั้งในชีวิตประจาวันและด้านอื่นๆ ก็ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์เป็นการบูรณาการกิจกรรมกับการแก้ปัญหารวมถึงการอภิปราย
พูดคุย การมีปฏิสัมพันธ์กัน และการให้เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
นอกจากนี้การสื่อสารในกระบวนการเรียนและการสอนคณิตศาสตร์ยังเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นสำหรับคณิตศาสตร์
เพราะการสื่อสารเป็นวิธีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เมื่อพิจารณาลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแล้วต้องพิจารณาคำว่า “การสื่อสารหรือ(Communication)”โดยเน้นไปที่กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ การสื่อสารทางคณิตศาสตร์เป็นความสัมพันธ์ทางกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เข้าร่วมการสื่อสาร
เพื่อพัฒนาการสื่อสารทางคณิตศาสตร์นอกจากนี้การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ยังเป็นกุญแจที่สำคัญในการพัฒนาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
ผู้จัดทำ
4
ธันวาคม 2558
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์
แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
1. มาตรฐานการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The
National Council of Teachers of Mathematics)(NCTM. 2004 :
Online) และ กรมวิชาการ (2551 : 54 - 56) ได้กำหนดมาตรฐานการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
ดังตารางนี้
มาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปี
|
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
|
||
ป.1 – 3
|
ป.4 – 6
|
ม.1 – 3
|
ม.4 – 6
|
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
|
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
|
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
|
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
|
Thurber, Kennedy and Tipps, Rays and others, สถาบันส่งเสริมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ข้างต้น สรุปได้ว่า การสื่อสารทางคณิตศาสตร์
หมายถึง การใช้พูดและเขียน การใช้คำศัพท์ สัญลักษณ์
รูปภาพและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงแนวคิด
แลกเปลี่ยนความรู้ เชื่อมโยง
และอธิบายกรอบแนวคิดของหลักการต่างๆ ซึ่งแสดงความหมาย ความสัมพันธ์
และความเชื่อมโยงของแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของตนให้บุคคลอื่นเข้าใจตรงกัน
3. ความสำคัญของการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา, สมเดช บุญประจักษ์, Baroody, Kennedy and Tipps และ Rays
and others จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
สรุปได้ว่า เป็นการสื่อสารที่มีความหมาย เป็นภาษาเฉพาะ รัดกุม สามารถสื่อสาร และนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และความสามารถทางคณิตศาสตร์
เพื่อแสดงแนวคิด อธิบายแนวคิด
และการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ซึ่งผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้มีการสื่อสารแนวคิดทางคณิตศาสตร์ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิ
4. การส่งเสริมการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
Thurber,
สภาครูครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ Kennedy and Tipps
, สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และกรมวิชาการจากแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สรุปได้ว่า
การส่งเสริมการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
เป็นการสื่อสารในจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ศัพท์ สัญลักษณ์และโครงสร้างทางคณิตศาสตร์
โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และดำเนินการทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสารแนวคิดเพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันและสามารถทำความเข้าใจแนวคิดและความสัมพันธ์ของแนวคิด
ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความสามารถเกี่ยวกับการสื่อสารในคณิตศาสตร์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
5. ประโยชน์ของการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการสื่อสารคณิตศาสตร์
Mumme and Shepherd และ ปริญญา สองสีดา จากแนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สรุปได้ดังนี้
1.
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ช่วยเสริมสร้างความรู้เข้าใจคณิตศาสตร์แก่ผู้เรียน
โดยให้ผู้เรียนได้เข้าใจเกี่ยวกับความรู้ คำศัพท์ สัญลักษณ์ รูปภาพและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์
ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีเข้าใจ ความสัมพันธ์
และเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับนิยามและกระบวนการต่างๆ
2.
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียนได้อธิบายและถ่ายทอดความคิดของตนเองออกมาให้ผู้อื่น
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในความคิดเห็นต่อกัน
และเป็นโอกาสการส่งเสริมผู้เรียนได้เขียนหรือพูดแสดงความคิดเห็นในความคิดด้วยตนเอง
3. การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ช่วยให้ผู้สอนได้รับรู้ เข้าใจ
และเข้าถึงระบบความคิดของผู้เรียนและประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบความคิดของผู้เรียน
6. การสื่อสารแนวคิดคณิตศาสตร์โดยการเขียน
เรดิเซล
(Riedesel.1990 : 337) จากแนวคิดการสื่อสารทางคณิตศาสตร์โดยการเขียนสรุปได้ว่า
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์โดยการเขียน
เป็นทักษะในการถ่ายทอดและประสบการณ์ของความรู้
ความคิด ความเข้าใจ และการพัฒนากระบวนการอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน โดยเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยกระบวนการคิดของผู้เรียนและเป็นการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคลในการแสดงระดับความเข้าใจของผู้เรียน
เพื่อช่วยเสริมทักษะการอ่านและเขียนให้มีความชัดเจนในการคิด ซึ่งทำให้ผู้เรียนพัฒนาการรับรู้ทางคณิตศาสตร์และแนวคิดของตนเองให้เพื่อนๆ
ได้ทราบว่าตนมีความเข้าใจอย่างไร
7. การประเมินความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
Kennedy
and Tipps และ ซูซาน เลนและคณะ จากแนวคิดการประเมินความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ทำการวัด 2 ด้าน สรุปได้ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน
ประเมินโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน
โดยเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับแบบ
ทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
ที่มีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
2.
ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ประเมินโดยนำข้อมูลจากแบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด
และผลการสัมภาษณ์ของผู้เรียน มาทำการวิเคราะห์ในด้านต่างๆ
เพื่อศึกษาด้านความสามารถในการใช้ภาษา ความคิดและเหตุผล และตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสารในแนวคิด
แล้วนำเสนอโดยการบรรยายสรุป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงนักการศึกษาหลายท่าน
สรุปได้ว่า การสื่อสารทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้นักเรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง
ในการสื่อสารนั้นนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันแล้ว
ยังเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับอันเป็นประโยชน์ที่สำคัญแก่ครูที่จะได้ทราบว่านักเรียนมีความเข้าใจการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดอีกด้วย
หนังสืออ้างอิง
กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตสาสตร์.
ใน เอกสารประกอบ หลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพ : ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.
ธิภารัตน์ พรหมณะ. (2545).การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารการสื่อความ
หมายทาง
คณิตศาสตร์และการนำเสนอสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วัดผล
การศึกษา). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาทักษิณ. ถ่ายเอกสาร.
พรสวรรค์ จรัสรุ่งชัยสกุล. (2547). การพัฒนาชุดการเรียน
เรื่อง เมทริกซ์และดีเทอร์มินันท์โดยใช้ หลักการ
เรียนเพื่อรอบรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพ
: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถ่ายเอกสาร.
เยาวพร วรรณทิพย์. (2548). ความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตสาสตร์
ของ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์
แตกต่างกันของ
นักเรียน โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วัดผลการศึกษา).
กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
วัชรี ขันเชื้อ. (2545). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ตรรกศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้กระบวนการ
กลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การ
มัธยมศึกษา). กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถ่ายเอกสาร.
ศิริพร รัตนโกสินทร์. (2546). การสร้างชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในแก้ปัญหา
และ
การสื่อสารทางคณิตศาสตร์
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วนร้อยละ.
วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วิชาคณิตศาสตร์). กรุงเทพ
: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถ่ายเอกสาร.
สมเดช บุญประจักษ์. (2540). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (คณิตศาสตร์ศึกษา).
กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . ถ่ายเอกสาร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
(2543). มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียน รู้กลุ่ม
วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพ : หน่วยการพิมพ์ สถาบันส่งเสริมการสอน วิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Baroody, Arthur J. (1993). Problem Solving Reasoning, and
Communicating, K-8 : Helping Children
Think
Mathematically. New York : Macmillan.
Johanning, I Debra. (2000,March). “An analysis of Writing and Post
writing Group Collaboration In
middle School
Pre-Algebra,,: School Science and Mathematics. 100 (3) :151 – 160.
Kennedy, Leonard M. and Steve Tipp. (1994). Guiding Children’s
Learning of Mathematics. 7th ed.
Belmont,
California : Woodworth Publishing.
Mumme, Judith & Nancy, Shepherd. (1993) “Communication in
Mathematics,” in Implementing the K-8
Curriculum and
Evaluation standard. : The National Council of Teachers of Mathematics.
National Council of Teachers of Mathematics. (NTCM). (2000).
Principles and Standards for school
Mathematics.
Reston,Virginia : The National Council of Teacher of Mathematic. Inc.
------------.(2004). (Online). Retrieved July 23, 2006, from
http://www.nctm.org/standard.htm/ Library.
Reys,Robert E.,and others. (2001). Helping Children Learn
Mathematics. 6th ed. New York : John Wiley
and Sons.
Riedesel, C.Alan. (1990). Evaluation of Learning in Elementary
School Mathematics, Teaching
Elementary
School Mathematics. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice – Hall.
Rodeheaver,L.R. (2000). “A Case Study of Communication between
Secondary Mathematics Student
teacher and
the Cooperative Teacher.” Dissertation Abstracts Online. 61 – 03A.
Rojas, M.E. (1992). “Enhancing the Learning of Probability Though
Developing Student Skill in reading
and Writing,”
Dissertation Abstracts Online. 53-05A.
Thuber, Walter A. (1976). Teaching Science in Today’s Secondary
Schools. Boston: Allyn and Bacon.
Thurlow, Deborah Lee. (1999). “The Effects of Journal Writing on
Fifth-Grade subjects Mathematics
Attitudes and
Achievement,” Dissertation Abstracts international – A. (CD-ROM). 57(1) :
2620. Available :
UMI; Dissertation Abstracts (July 1996)
Suzanne Lane,et al.(1996a). The Role Take and Holistic Scoring
Rubrics : Assessing Students’
Mathematical
Reasoning and Communication. University of California : The National
Council of Teachers of
Mathematic, INC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น