วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เอกสารและงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (2)

การสื่อสาร
6. ประเภทของการสื่อสาร
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของการสื่อสาร ดังนี้
6.1) พิจารณาจากจำนวนผู้ทำการสื่อสารแบ่งออกได้เป็น
1) การสื่อสารภายในบุคคลเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคลคนเดียว เช่น การคิดถึงงานที่จะทำ
2) การสื่อสารระหว่างบุคคล จะประกอบด้วย บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นการสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อย
3) การสื่อสารกลุ่มใหญ่ เป็นการสื่อสารที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากทำให้โอกาสที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารแลกเปลี่ยนข่าวสาร กันโดยตรงได้น้อย
                            4) การสื่อสารในองค์การเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกในองค์การ เช่น 
               การสื่อสารในหน่วยราชการ
5) การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่ซับซ้อน ผู้รับข่าวสารมีจำนวนมากอยู่กระจัดกระจายมีจำนวนไม่จำกัดและไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อที่เป็นสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ ฯลฯ
6.2) พิจารณาจากการเห็นหน้ากัน แบ่งได้เป็น
1) การสื่อสารแบบเฉพาะหน้าเป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็นหน้าและสังเกตกิริยาอาการของกันและกัน
2) การสื่อสารแบบมีสิ่งสะกัดกั้น เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารไม่สามารถเห็นหน้ากันเพราะอยู่ห่างไกล
6.3) พิจารณาจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร  แบ่งได้เป็น
1) การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ต่างเชื้อชาติ ย่อมมีปัญหามากกว่าการสื่อสารระหว่างชาติเดียวกัน
2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การสื่อสารชนิดนี้เกิดขึ้นได้ในระหว่างคนที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือคนละประเทศ
3) การสื่อสารระหว่างประเทศเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ เช่นการเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
6.4) พิจารณาจากเนื้อหาวิชา แบ่งได้เป็น 8 กลุ่ม และมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ
1) ระบบข่าวสาร จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิเคราะห์ระบบจึงนำไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสาร
2) การสื่อสารระหว่างบุคคล  เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว  การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ  เช่น  การสื่อสารในกลุ่มย่อย
3) การสื่อสารมวลชน จะเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของสื่อมวลชน
4) การสื่อสารในองค์การ จะเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลและพฤติกรรมของบุคคล ทฤษฎีและ
การวิเคราะห์บทบาทของการสื่อสารในการดำเนินงานขององค์การ
5) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการปฏิบัติในการสื่อสารระหว่างประเทศการเปรียบเทียบระบบการสื่อสารระหว่างประเทศและเชื้อชาติที่แตกต่าง
6) การสื่อสารการเมือง จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการสื่อสารได้แก่ผู้ส่งสาร
สาร สื่อและผู้รับสารที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมการเมือง
7) การสื่อสารการสอน จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนระบบการสอน
8) การสื่อสารสาธารณสุข จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสารที่เกี่ยวกับสุขภาพการแก้
ปัญหาสาธารณะสุขด้วยการสื่อสาร เป็นต้น
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก (อ้างในhttps://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson3/com_theory.html) ได้กล่าวโดยสรุปมีดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal Communication)  การคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
                2. การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำการสื่อสารกันอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
                3. การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group) Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน 25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก
                4. การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group Communication)  การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร  ชั้นเรียนขนาดใหญ่
5. การสื่อสารในองค์กร(Organization Communication) การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง               
6. การสื่อสารมวลชน(Mass Communication)  การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
7. การสื่อสารระหว่างประเทศ(International Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม เช่นการสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ
                เกรียงศักดิ์  เจดีย์แปง (2551, หน้า  9 ) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของการสื่อสาร ดังนี้
                การสื่อสารมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับสถานการณ์การสื่อสาร โดยทั่วไปเกณฑ์ในการพิจารณาแบ่งประเภทของการสื่อสารมี 5 เกณฑ์ คือ
                1. เกณฑ์จำนวนของผู้ที่ทำการสื่อสาร
                2. เกณฑ์ในเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
                3. เกณฑ์การเห็นหน้าค่าตากันระหว่างผู้ที่ทำการสื่อสาร
                4. เกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้ที่ทำการสื่อสาร และ
                5. ลักษณะของเนื้อหาวิชาที่มีการนำการสื่อสารเข้าไปใช้
                ซึ่งทั้ง 5 เกณฑ์นี้ ได้แบ่งประเภทการสื่อสารออกไปตามลักษณะของเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
                1. การสื่อสารระหว่างบุคคล
                2. การสื่อสารภายในตัวบุคคล
                3. การสื่อสารกลุ่มใหญ่
                4. การสื่อสารมวลชน และ
                5. การสื่อสารในองค์กร
                1. การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารเฉพาะหน้า  สื่อสารกันในรูปแบบเผชิญหน้า และหรือทำการสื่อสารระหว่างคนสองคนในลักษณะที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เช่น การพูดคุยระหว่างคนสองคน การทักทาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้ที่ทำการสื่อสารจะเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
                2. การสื่อสารภายในตัวบุคคล หมายถึง การสื่อสารของบุคคลคนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร  โดยมีระบบประสาทส่วนกลางเป็นศูนย์กลางในการแบ่งการส่งและการรับข่าวสารภายในตัวของบุคคล ตัวอย่างได้แก่ การรำพึงกับตัวเอง การทบทวนงานต่างๆ ที่ได้เขียนหรือทำมา หรือการร้องเพลงฟังคนเดียว
                3. การสื่อสารกลุ่มใหญ่ หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ซึ่งมารวมอยู่ในที่เดียวกัน  หรือในที่ที่ใกล้เคียงกัน  โดยการเข้ามารวมกันของคนจำนวนมากนี้  ทำให้ผู้ส่งสารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้น้อย เนื่องจากผู้รับสารมีลักษณะในเรื่องความแตกต่างของบุคคลค่อนข้างมาก  การสื่อสารกลุ่มใหญ่อาจปรากฏออกมาในทางสร้างสรรค์ เช่น การฟังอภิปรายการสอนของอาจารย์ที่มีผู้เรียนจำนวนมากๆ หรือการรวบกลุ่มกันในทางที่อาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายทางสังคม ที่เรียกว่า การจลาจล เช่น การเดินขบวนประท้วง
                4. การสื่อสารมวลชน หมายถึง การสื่อสารไปยังคนหมู่มากที่อยู่ในสถานที่ต่างกัน และผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน  การส่งข่าวสารให้กับคนจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันและอยู่ในที่ที่ต่างกันได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว  ผู้ส่งสารจำเป็นต้องอาศัยสื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพและมีสมรรถนะสูงในการเข้าถึงคนจำนวนมากได้  ประเภทของสื่อจึงแบ่งออกตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร ภาพถ่าย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อที่รับรู้โดยการฟัง (Audio Media) ได้แก่ เทป วิทยุกระจายเสียง สื่อที่รับรู้โดยการมองเห็น (Visual Media) ได้แก่ หนังสือ ภาพถ่าย สื่อที่รับรู้โดยการฟังและการมองเห็น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์
                5. การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลในองค์กรทุกระดับ  ทุกหน่วยงาน  โดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารกันในองค์กรนั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ภายใต้สภาพแวดล้อมบรรยากาศขององค์กร  ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามกาลเทศะและตัวบุคคล ตลอดจนสาระเรื่องราวและวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
                จากประเภทของการสื่อสารได้สรุปไว้ว่า  การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภทและลักษณะ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal Communication)  การสื่อสารของบุคคลคนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยการคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
                2. การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) การสื่อสารเฉพาะหน้า  สื่อสารกันในรูปแบบเผชิญหน้า และหรือทำการสื่อสารระหว่างคนสองคนในลักษณะที่มีสื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารอย่างมีวัตถุประสงค์ เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
                3. การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group) Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน 25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก ฯลฯ
                4. การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group Communication)  การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร  ชั้นเรียนขนาดใหญ่ ฯลฯ
5. การสื่อสารในองค์กร(Organization Communication) การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงานโดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง      
6. การสื่อสารมวลชน(Mass Communication)  การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
7. การสื่อสารระหว่างประเทศ(International Communication) การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม โดยบุคคลที่มาติดต่อสื่อสารนั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเรื่องสำคัญระหว่างความร่วมมือต่างประเทศ เช่น การสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจฯลฯ
7. ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร
                การ สื่อสารในทุกระดับและทุกรูปแบบอาจมีอุปสรรคของการสื่อสารเกิดขึ้นได้เสมอ บุคคลผู้กระทำการสื่อสารจึงควรจะต้องตระหนักถึงอุปสรรคของการสื่อสารและ พยายามขจัดอุปสรรคของการสื่อสาร ซึ่งมีดังนี้ (ระวีวรรณ ประกอบผล.2542 : 150-152)
            อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร
                ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ ถ้าหากผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งแล้ว ผู้รับสารก็จะขาดความเชื่อถือในตัวผู้ส่งสาร ขาดความเต็มใจที่จะรับสารจากผู้ที่ไม่รู้จริง ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารสะดุดหยุดลงและไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ  นอกจากนี้  หากผู้ส่งสารมีทัศนคติในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ต่อการสื่อสารแล้วก็จะทำให้การสื่อสารเป็นไปโดยราบรื่นได้ยาก เช่น หากผู้ส่งสารมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้รับสารก็จะเกิดความไม่เต็มใจในการสื่อสาร  หรือหากผู้ส่งสารมีทัศนคติไม่ดีต่อตนเอง เกิดความไม่มั่นใจก็อาจทำให้เกิดผลในทางลบต่อการสื่อสารได้  ด้วยเหตุนี้  ในการสื่อสารทุกครั้ง  ผู้ส่งสารจึงควรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดีในเรื่องของข้อมูล  ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีเพื่อความสำเร็จในการสื่อสาร
                อุปสรรคที่สาร
                ในกระบวนการสื่อสาร สารที่ผู้ส่งสารออกไปยังผู้รับสารอาจจะเป็นอุปสรรคของการสื่อสารได้  หากสารนั้นขาดความพอเหมาะพอดีกับกำลังความสามารถในการรับสาร  เช่น  ยาวหรือง่ายเกินไปสำหรับผู้รับสาร  สารซึ่งขาดการจัดลำดับเรื่องราวที่ดีพอ  สารที่มีลักษณะสลับซับซ้อนคลุมเครือ ไม่แจ้งชัด  สารที่มีรูปแบบล้าสมัย  ไม่เหมาะกับผู้รับสาร ฯลฯ ล้วนแล้วแต่จะทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลได้ นอกจากนี้สารที่มีลักษณะขัดกับความคิดความเชื่อและค่านิยมของผู้รับสารก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้
                อุปสรรคที่ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ
                อุปสรรคของการสื่อสารอาจอยู่ที่สื่อหรือช่องทางที่ผู้ส่งสารเลือกใช้  ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อการสื่อสาร เช่น หากผู้รับสารไม่มีความรู้ในการอ่านออกเขียนได้แต่ผู้ส่งสารเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเผยแพร่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคได้  ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้สื่อจึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด  และยังต้องคำนึงถึงความสะดวก ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของผู้รับสารในการที่จะรับสารจากสื่อที่ผู้ส่งสารเลือกใช้ด้วย
                อุปสรรคที่ผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสารอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับสารขาดพื้นความรู้ในเรื่องที่ตนจะเป็นผู้รับสาร  การที่จะรับสารได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งก็เป็นไปได้ยาก  บางครั้งผู้รับสารก็อาจจะสำคัญผิดคิดว่าตนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการสื่อสารมากพอแล้ว  ทำให้เกิดความไม่สนใจไม่ตั้งใจที่จะรับสารหรือเกิดความเข้าใจผิดในสาร  ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากและเป็นอุปสรรคที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล
                ขวัญเรือน  กิติวัฒน์ และภัสวดี  นิติเกษตรสุนทร (2542 : 36-37) ได้กล่าวถึง แหล่งกำเนิดของอุปสรรคของการสื่อสาร ดังนี้
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านกลไก  หมายถึง สิ่งรบกวนภายนอกอันเกิดจากช่องทางการสื่อสาร เช่น วิทยุ เกิดเสียงคลื่นแทรก โทรทัศน์ภาพล้ม  โทรศัพท์เสียงไม่ชัด  ตัวหนังสือในจดหมายเลือน ฯลฯ
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านความหมายของภาษา  หมายถึง  สิ่งรบกวนภายในตัวบุคคลที่เกิดจากการตีความ  การกำหนดความหมายหรือการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระของสาร
                อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรบกวนด้านปัจจัยบุคคล  เกิดจากภูมิหลังทางด้านสังคมของผู้ส่งสารและผู้รับสาร  เกิดจากบุคลิกภาพและจิตวิทยาเฉพาะบุคคล  เกิดจากการขาดทักษะความรู้ในกระบวนการส่งและรับสาร  เกิดจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในขณะที่ทำการสื่อสารในช่วงเวลาที่ทำการสื่อสารกัน  และอุปสรรคที่เกิดจากสารและสื่อ  หากเนื้อหาสารไม่ได้รับการจัดกระทำให้อยู่ในรูปแบบที่สมบูรณ์ง่ายต่อการเข้าใจ  ประกอบกับสื่อมีข้อบกพร่องบางประการก็ทำให้การสื่อสารล้มเหลวหรือผิดพลาด เช่นกัน
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์ (อ้างใน http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14
.html ) ได้กล่าวเกี่ยวกับอุปสรรคในการสื่อสาร ดังนี้
7.1) อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ เพียงพอเกี่ยวกับสารที่ต้องการสื่อมีความสามารถในการถ่ายทอด มีบุคลิกภาพดีและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสาร
7.2) อุปสรรคที่สาร สารที่ยากเกินไป หรือผู้รับสารไม่คุ้นเคยหรือเป็นสารที่ทำให้ผู้รับสารขาดความสนใจสารที่ขัดกับความเชื่อ ค่านิยมและระบบความคิดของผู้รับสารจะทำให้ผู้รับสารต่อต้านจะทำให้ผู้รับสารต่อต้าน
7.3) อุปสรรคที่ช่องทางหรือสื่อ ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมเช่น เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อสอนนาฏศิลป์ไทย ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจท่ารำแต่ละท่าได้
7.4) อุปสรรคที่ผู้รับสาร หากผู้รับสารขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่รับผู้รับสารขาดความพร้อมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ง่วงนอน ป่วย กังวล ผู้รับสารคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าผู้ส่งสารหรือรู้เรื่องนั้นดีแล้ว จะทำให้ไม่สนใจรับสาร
อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/) ได้กล่าวโดยสรุปดังนี้
อุปสรรคใน การสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
                1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
                                1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                                1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                                1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                                1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                                1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                                1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
                2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
                2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
                3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
                3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
                3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
                4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
จากอุปสรรคในการสื่อสารได้กล่าวสรุปไว้ว่า อุปสรรคในการสื่อสารเป็นสิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่
บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร  ซึ่งอาจเกิดขึ้นในทุกขั้นเวลาและขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรคในการสื่อสาร สรุปได้ดังนี้
1) อุปสรรคที่ผู้ส่งสาร ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้อย่างเพียงพอ ถ้าหากผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งแล้ว ผู้รับสารก็จะขาดความเชื่อถือในตัวผู้ส่งสาร ซึ่งจะมีผลทำให้การสื่อสารสะดุดหยุดลงและไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ  ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้ เพียงพอเกี่ยวกับสารที่ต้องการสื่อมีความสามารถในการถ่ายทอด มีบุคลิกภาพดีและมีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสาร
2) อุปสรรคที่สาร สารที่ยากเกินไป หรือผู้รับสารไม่คุ้นเคยหรือเป็นสารที่ทำให้ผู้รับสารขาดความสนใจสารที่ขัดกับความเชื่อ ค่านิยมและระบบความคิดของผู้รับสารจะทำให้ผู้รับสารต่อต้านจะทำให้ผู้รับสารต่อต้าน ซึ่งที่ผู้ส่งสารออกไปยังผู้รับสารอาจจะเป็นอุปสรรคของการสื่อสารได้  หากสารนั้นขาดความพอเหมาะพอดีกับกำลังความสามารถในการรับสาร
3) อุปสรรคที่ช่องทางหรือสื่อ ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมเช่น เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อสอนนาฏศิลป์ไทย ผู้รับสารอาจไม่เข้าใจท่ารำแต่ละท่าได้  ดังนั้น ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อการสื่อสาร เช่น หากผู้รับสารไม่มีความรู้ในการอ่านออกเขียนได้แต่ผู้ส่งสารเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเผยแพร่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคได้
4) อุปสรรคที่ผู้รับสาร หากผู้รับสารขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่รับผู้รับสารขาดความพร้อมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ง่วงนอน ป่วย กังวล ผู้รับสารคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าผู้ส่งสารหรือรู้เรื่องนั้นดีแล้ว จะทำให้ไม่สนใจรับสาร
8. ประโยชน์ของการสื่อสาร
อุเทน  สวัสดิ์ทอง (อ้างใน https://introcommunications.wikispaces.com/) ได้กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. งานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
2. เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี
3. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
4. ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
5. ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
6. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
7. ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
นชรี  เพชรสงค์ (อ้างใน https://sites.google.com/site/nudchareeps/page2 ) ได้กล่าวว่าเกี่ยวกับ
ประโยชน์ของการสื่อสารดังนี้
                1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
                2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธี การรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
                4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
               บทเรียนออนไลน์ (http://poschanunpan.blogspot.com/2012/01/blog-post_5857.html) ได้กล่าวเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล ดังนี้
                ในปัจจุบันความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่คำนึงถึงอย่าง
มาก ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน คือ
                1.  จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้  แผ่นบันทึก
แผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร  สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูล
ผ่านสายโทรศัพท์ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีก็จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา
40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา มานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
 
             2.  ความถูกต้องของข้อมูล  โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จาก
จุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูล
ผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้
ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                 3.  ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้
คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูล จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลฦ
ขนาดใหญ่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว  ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัท
สายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของ
สายการบิน สามารถทำได้ทันที
 
             4.  ประหยัดต้นทุน  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล
โปรแกรมการทำงาน  จะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น
                5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
                6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุก เครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง
                7.การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้ เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสาร ชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูล เอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
                จากกล่าวมาสามารถสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของการสื่อสาร  มีดังนี้
                ประโยชน์ในการสื่อสารช่วยให้บุคคลเกิดความรู้สึกที่ดี เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยลดข้อแย้งที่เกิดความเข้าใจกัน ส่งผลให้เกิดความสามัคคีจนไปสู่งานบรรลุเป้าหมายของงานต่างๆ และในปัจจุบันของยุดดิจิทัลของศตวรรษที่ 21 มีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการสื่อสารด้านต่างได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีดังนี้
                1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
                2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
                3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว
                4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
5) สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
                6) การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุก เครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง
                7) การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้ เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสาร ชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูล เอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ

หนังสืออ้างอิง
กองวิจัยทางการศึกษา  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ.(2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนา
                ศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2547). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2558.
                จาก https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/lesson3/com_theory.html
ขวัญเรือน กิติวัฒน์ และ ภัสวดี นิติเกษตรสุนทร. เอกสารการชุดวิชาพฤติกรรมการสื่อสาร หน่วยที่ 1 – 8 ,
                นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542.
ชนันว์ ชามทอง. (2550). การจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สำหรับ
                นักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
                บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณภัทร ธนเตชาภัทร์. (2551). ความสำคัญของการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่  18   พฤศจิกายน 2558.
                 จาก https://www.l3nr.org/posts/151118
ทัศนีย์  กระต่ายอินทร์. (2546). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่  18   พฤศจิกายน 2558.
                 จาก http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content14.html
นชรี  เพชรสงค์. (2553). ประโยชน์ของการสื่อสาร . เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558.
                  จาก https://sites.google.com/site/nudchareeps/page2
บทเรียนออนไลน์. (2555). ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558.
                   จาก http://poschanunpan.blogspot.com/2012/01/blog-post_5857.html
พิชิต  แก้วก๋อง. (2549). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการ
                  สื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสันหนองควาย. วิทยานิพนธ์
                  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย (Thai1) หน่วยที่ 1 – 8 .
                พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ระวีวรรณ  ประกอบผล. หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 7 , นนทบุรี :
                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542
อรอำไพ  ศรีวิชัย. (2555). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับ
                 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเวียงฝาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
                 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุเทน  สวัสดิ์ทอง. (2555). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558.
                  จาก https://introcommunications.wikispaces.com/
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น