สื่อ และนวัตกรรมในการนำมาใช้การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ว่าที่ ร.ต. ภัทรฤทธิ์ ภัทรธนชิต
สาขาคณิศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
บทนำ
ปัจจุบัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและความกว้างหน้าของสื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีรวมถึงคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมทุกๆ
ด้าน เช่น ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม การติดต่อสื่อสารและคมนาคม
ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวและการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันและความเจริญของประเทศชาติให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ
โดยการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นจำเป็นต้องให้มีความรู้ความสามารถและนวัตกรรม
เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาศักยภาพในประเทศ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม
ดังนั้น การนำความเจริญทางด้านสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
จะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ดีมากขึ้น
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น สื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานับวันจะมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษามากขึ้น ส่งผลให้สังคมได้พยายามนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา
ในปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ได้การทำการผลิตและพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเป็นจำนวนมาก
เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
บทความฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นในการรวบรวมสาระเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อ
และนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตในศตวรรษที่
21 ที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว
และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครูได้
โดยรวบรวมสาระหลักสำหรับเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
และแนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เอาไว้
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความฉบับนี้จะสามารถเป็นแนวทางและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษา
สำหรับการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในการสร้างสื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ดี
ผู้จัดทำ
9
ธันวาคม 2558
แนวคิดเกี่ยวกับสื่อ
ความหมายของสื่อ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ได้ให้ความหมายของสื่อว่า สื่อ หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น
สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน
สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน ฯลฯ
พรจิต
สมบัติพานิช (2547: 4) ให้ความหมายว่า สื่อ
คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่นำเสนอเนื้อหาของสารไม่ว่าจะเป็นข่าว
ข้อมูลบันเทิงหรือโฆษณาไปสู่ผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงระบบเทคโนโลยี
นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสื่อที่พัฒนาให้ดีขึ้น
ทัศนา สุดใจ
(อ้างใน https://www.l3nr.org/posts/260089) ได้ให้ความของสื่อว่า สื่อ หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม
จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
Heinich
และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า
(Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า
"media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of
communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ
คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า
"media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง
(between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ
สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
A.
J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ ทางด้านการออกแบบ
การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse
University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting
source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of
the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์
หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ
ผู้เรียน)"
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางระหว่างข้อมูลเริ่มต้นของสารกับผู้รับสาร
เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งเริ่มต้นไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลติดต่อให้ถึงกันในสิ่งต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ความสำคัญของสื่อ
ทัศนา สุดใจ
(อ้างใน https://www.l3nr.org/posts/260089)
ได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อไว้ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่
ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน
เทวิน ศรีดาโคตร (อ้างใน เอ็ดการ์ เด็ล http://www.lib.ubu.ac.th/techno/Down%20Load/bod39.pdf) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อ ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น
ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด
แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจ
ได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหว จับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้า ก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน จากนักการศึกษาได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อสรุปได้ว่า สื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ของสังคม โดยเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน และช่วยให้เกิดสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรม ความสนใจ ความเข้าใจและพัฒนาการเรียนรู้ขึ้นในความคิดของผู้เรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหว จับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้า ก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน จากนักการศึกษาได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อสรุปได้ว่า สื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ของสังคม โดยเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน และช่วยให้เกิดสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรม ความสนใจ ความเข้าใจและพัฒนาการเรียนรู้ขึ้นในความคิดของผู้เรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อ
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี
และคณะ (2549) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของสื่อ ดังนี้
สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น
1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น
กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ (อ้างใน https://www.gotoknow.org/posts/383263) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตามลักษณะของสื่อที่นำไปใช้มี
๕ ประเภท ดังนี้
1. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
เช่น หนังสือการเรียน คู่มือหนังสือเสริมประสบการณ์
ใบความรู้ ใบงาน แผ่นพับ แผ่นภาพ แบบฝึก
วารสารวิชาการ นิตยสาร จุลสาร ฯลฯ
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์ เป็นสื่อสิ่งของต่างๆ เช่น
ของจริง หุ่นจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง
สถิติ กราฟ ฯลฯ
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เป็นสื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพเลื่อน (Slide) แถบเสียง
คอมพิวเตอร์ อาทิ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอิเล็กทรอนิกส์
และสื่อผสม ฯลฯ
4. สื่อกิจกรรม เป็นสื่อประเภทวิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ
ฝึกทักษะ ซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด
การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น
เกม เพลง บทบาทสมมุติ
การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละครออการจัดนิทรรศการและแสดงผลงานทัศนศึกษา
การทำโครงงาน ฯลฯ
5. สื่อบริบท เป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียนการสอน
ได้แก่ สภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ต่างๆ
เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ
แหล่งวิทยบริการ หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
อาทิ บุคคล ห้องสมุด ชุมชน
สังคม วัฒนธรรม เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ฯลฯ
จากที่ได้กล่าวเกี่ยวกับประเภทของสื่อสรุปได้ว่า ประเภทของสื่อสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท
ดังนี้
1. วัสดุ (Software
or Materials) ได้แก่ สื่อที่มีขนาดเล็กๆ ทั้งหลาย
บางครั้งสามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น หนังสือเรียน หรือตำรา ของจริง
ลูกโลก รูปภาพ ป้ายนิเทศ เป็นต้น บางครั้งก็อาศัยสื่อใหญ่พวก Hardware สำหรับนำเสนอ เช่น แผ่นสไดล์ ฟิล์มภาพยนตร์ ม้วนเทปบันทึกเสียง ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Hardware
or Equipment) เป็นสื่อที่ประกอบด้วยกลไกไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์
เช่น เครื่องฉายทั้งหลาย อันมีเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป
เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เครื่องเล่นจานเสียง
และเครื่องบันทึกเสียง ตลอดจนเครื่องสอนและคอมพิวเตอร์
3. วิธีการ (Technique
or Method) เป็นการสื่อสารหรือการถ่ายทอดประสบการณ์
บางครั้งไม่อาจทำได้ด้วยการใช้เพียงวัสดุ หรือเครื่องมือ แต่จะต้องใช้ขบวนการ
กิจกรรม สถานการณ์หรือการแสดงกรรมวิธี
คือใช้วัสดุ เครื่องมือ และวิธีการไปด้วยกัน แต่เน้นและย้ำที่ เทคนิคหรือวิธีการเป็นสำคัญ
เช่น ครูที่ต้องการสอนวิธีการตอนต้นไม้ ครูต้องอาศัยไม่เพียงต้นไม้ มีด
แผนภูมิขั้นตอนในการทำ
แต่ครูจะต้องใช้เทคนิคของการสาธิตให้เห็นวิธีการที่ถูกต้องในการตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ
แนวคิดเกี่ยวกับสื่อการสอน
1. ความหมายของสื่อการการสอน
กู๊ด
(Good 1973 : 307, อ้างถึงใน ยุพิน พิพิธกุล และ อรพรรณ ตันบรรจง
2535 : 18) กล่าวว่า สื่อการสอน คือวิธีการและวัสดุอื่นใดที่แสดงให้เห็นเนื้อหาสาระอย่างสมบูรณ์แบบโดยตัวของมันเองและเป็นผู้ส่งเสริมอย่างกว้างขวางมากกว่าที่จะเป็นส่วนประกอบของกระบวน
การเรียนการสอน
จริยา เหนียนเฉลย (2535 : 4) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอนหมายถึง
การนาวัสดุเครื่องมือ และวิธีการมาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้เนื้อหาไปยังผู้เรียนได้
เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ถ่ายทอดซึ่งกันและกันได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมาย
สุโชติ ดาวสุโข และ สาโรจน์ แพ่งยัง (2535 : 11) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้หรือช่วยในการเรียนรู้
ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551 : 12) กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้
หรือสื่อการเรียนการสอนหมายถึง กิจกรรมทางการศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันเพราะเป็นผู้ช่วยคุณครูสอนผู้เรียน
ช่วยให้ภาระงานลดน้อยลง เหนื่อยน้อยลง สอนน้อยลง แต่ผู้เรียนได้รู้กว้างขึ้นสื่อกิจกรรมเป็นวิธีการที่คุณครูจะสรรค์สร้างความคิดสร้างสรรค์
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกระทำ ให้ผลสำเร็จดังที่ตั้งความหวังไว้ตั้งแต่แรก ในบางครั้งผู้เรียนไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียนอยู่
แต่หลังจากที่ผู้เรียนเสร็จสิ้นครูจะต้องสรุปใจความสำคัญ ๆ เพื่อให้กลุ่มเรียนทั้งหมดมีความคิดรวบยอดตรงกัน
กระทรวงศึกษาธิการ (2552 : 22) กล่าวไว้ว่า
สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้
ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายประเภท
ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และเครือข่าย การเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น
การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ และลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน
สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งใดๆ ที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้
แปลหรือช่วยทำให้เนื้อหาที่ยากให้เป็นง่าย ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือ
หรือเทคนิคต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น
อย่างรวดเร็ว
2. ประเภทของสื่อการสอน
สุลักษณี รัตนะ
(2544:20-21) กล่าวว่า จากการที่นักเทคโนโลยีทางการศึกษาได้แบ่งสื่อการสอนไว้หลายประเภทจึงสรุปได้ว่า
สื่อการสอนแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ประเภทวัสดุ (Material or Software)
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ
แผนภูมิภาพวาดหนังสือ เป็นต้น
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วยเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน
เช่น ภาพโปร่งแสงภาพสไลด์ ม้วนเทป ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Equipment or Hardware) เป็นเครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่างๆ
เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เครื่องรับส่งวิทยุ และโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุ เช่น ฟิล์ม
เส้นเทป รูปภาพเป็นแหล่งความรู้
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or
Method) เป็นเทคนิค หรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุ หรือเครื่องมือ
หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลองการแสดงละคร การจัดนิทรรศการ
เป็นต้น
ยุพิน พิพิธกุล (2545 : 52-53) ได้จำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอนออกเป็น
4 ประเภทดังนี้
1. วัสดุ แยกออกเป็น
1.1 วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ หนังสือเรียน
วารสาร จุลสารหนังสืออ่านประกอบ เอกสารประกอบการเรียน ซึ่งได้แก่ เอกสารแนะแนวทาง เอกสารฝึกหัดบทเรียนการ์ตูน
บทเรียนสำหรับเรียนด้วยตนเอง ชุดการเรียน บทเรียนโปรแกรม
1.2 วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูสามารถทำได้ด้วยตนเอง อาจจะใช้กระดาษ
ไม้พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น รูปทรงต่างๆที่ทำจากกระดาษ
แผ่นภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋ าผนัง แผ่นภาพพลิก กระดานตะปู กระดานผ้าสำลี
ชุดการเรียนการสอน สไลด์ประกอบเสียง สื่อเทคโนโลยี เช่น วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction) เครื่องคิดคำนวณกราฟิก
(Graphic Calculator) อินเตอร์เน็ต
1.3 วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง
ของจำลอง ของตัวอย่าง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง เป็นต้น
1.4 วัสดุสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ดินสอสี ปากกา
2. อุปกรณ์ เป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทเครื่องมือ เช่น
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นจานเสียง
เครื่องเทปบันทึกภาพเครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพทึบ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน
เช่น การทดลองการสาธิต การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การทำโครงการ การศึกษานอกสถานที่
การเล่าเรื่องการแสดงบทบาทสมมติ การร้องเพลง การใช้คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง การใช้เกม
ปริศนา กลลวง
4. สื่อการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการเรียนการสอนที่หาได้ง่ายเพราะอยู่รอบตัวเราสื่อการเรียนรู้ภายในห้องเรียน
เช่น สมุด หนังสือ กระดานดำ หน้าต่าง ประตู สื่อการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน เช่น ต้นไม้
สนามฟุตบอล ทุ่งนา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (อ้างถึงใน สุนันทา สุนทรประเสริฐ 2547 : 3) ได้กล่าวว่า
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครู การรับรู้ของผู้เรียน
และความเหมาะสมของสื่อการเรียนการสอน เพราะสื่อการเรียนการสอนคือ ตัวกลางหรือเครื่องมือที่ช่วยให้ครูถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
สื่อการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้ดังนี้
1. วัสดุ (Soft ware) หมายถึง สื่อที่มีขนาดเล็ก
น้ำหนักเบา เช่น ชอล์ก รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่
ฟิล์มสไลด์ แถบบันทึกเสียง ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Hard ware) หมายถึง สื่อประเภทเครื่องมือที่ครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง ฯลฯ บางชนิดใช้ประกอบกับสื่อประเภทวัสดุ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องเล่นเทปโทรทัศน์
เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียงเป็นต้น
3. เทคนิควิธีการ (Technique) หมายถึง
กิจกรรมทุกอย่างที่ครูหรือนักเรียนจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
เช่น การสาธิต การประชุมกลุ่ม การเล่นละคร
เพลง และเกม เป็นต้น
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้ง ครูอาจใช้สื่อหลายชนิดร่วมกันโดยใช้สื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป
อาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์และเทคนิควิธี เรียกว่า สื่อประสม ซึ่งมีชื่อตามจุดมุ่งหมายของการใช้
จากนักการศึกษากล่าวมาเกี่ยวกับประเภทของสื่อการสอนสรุปได้ว่า
สื่อการสอนได้จำแนกออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวัสดุ
สื่ออุปกรณ์ สื่อเทคนิคและวิธีการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้ง ครูอาจใช้สื่อหลายชนิดร่วมกันโดยใช้สื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปอาจเป็นวัสดุ
อุปกรณ์และเทคนิควิธี เรียกว่า สื่อประสม ซึ่งมีชื่อตามจุดมุ่งหมายของการใช้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
3. ความสำคัญของสื่อ
กรมวิชาการ
(อ้างถึงใน สุนันทา สุนทรประเสริฐ 2547 : 1) กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ไว้ว่า
สื่อเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูน ทักษะและประสบการณ์ สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางการคิด ได้แก่ การคิดไตร่ตรอง การคิดสร้างสรรค์
และการคิดอย่างมีวิจารณญาณตลอดจนสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมให้แก่ผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันมีอิทธิพลสูงต่อการกระตุ้นให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มีมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทและให้คุณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
1. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความคิดรวบยอดได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นกระบวนการ
3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่
น่าสนใจและทำให้อยากรู้อยากเห็น
5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเรียน
6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกันให้เรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน
7. ช่วยให้ผู้เรียนบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกัน
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อและแหล่งข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม
9. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลากหลาย
10. เชื่อมโยงโลกที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียนให้เข้ามาสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551 : 19) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการสอน
ดังนี้
1. สามารถส่งเสริมให้บรรยากาศในการเรียนการสอนดียิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ทุกวิชา ทุก
เวลา ทุกสถานที่ และไม่จำกัดคนสอน
2. ตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดีกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้พิการทางร่างกายได้โอกาสดียิ่งขึ้น มีทางเลือกทั้งในระบบ นอกระบบ และอิสระความต้องการ
3. การบริการการจัดการทางการศึกษามีบทบาทที่ดียิ่งขึ้น พาไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
มีทิศทางและนโยบายที่จะพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองให้ทัดเทียมต่อนานาประเทศ
4. ผลักดันและส่งเสริมให้เด็กไทยพัฒนาทั้งร่างกายและสติปัญญา
เกิดความงอกงามทางความคิด มีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิต เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ เข้าใจบทบาทชีวิตของตนเองมากขึ้น
เกิดจากการจัดการศึกษาที่แข็งแกร่งของผู้บริหารการศึกษา
5. เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้านไอทีจากการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการจัดการเรียนการสอนและรับรู้สารสนเทศอย่างรวดเร็วไม่ว่าอยู่มุมใดของโลก
เพราะใช้สื่อไร้พรมแดน
สำลี รักสุทธี (2553 : 13) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนว่า
สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลได้อย่างเป็นรูปธรรม
ชัดเจน
2. เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
3. เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาดารสอนให้สั้นลง
4. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
5. ช่วยทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
6. ช่วยทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
7. ช่วยกระตุ้น และเร้าความสนใจให้กับนักเรียนมากขึ้น
8. ช่วยให้การเรียนเนื้อหาง่ายขึ้น
9. นักเรียนประสบความสำเร็จจากการเรียนมากขึ้น
10. ช่วยให้นักเรียนไม่เบื่อในการเรียน
11. ช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเยน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเรียนโดยรวม
จากนักการศึกษาได้กล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อการสอนสรุปได้ว่า
สื่อการสอนมีความสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากสื่อการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความคิดรวบยอดในการเรียนรู้ได้ง่าย
และรวดเร็วขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นในการเรียนรู้จากนามธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ที่ต่างกัน
ให้มีโอกาสเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน ช่วยให้ผู้เรียนบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้
เชื่อมโยงกันได้
4. หลักการเลือกใช้สื่อการสอน
กรมวิชาการ (2546 : 65-67) ได้กล่าวถึง การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญยิ่ง
โดยในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอน
เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ
เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
1. สื่อการสอนนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อการสอนที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
และเป็นสื่อที่มีผลต่อ การเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อการสอนมีความสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อการสอนมีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลา
และ การลงทุน
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 189-190) ได้กล่าวว่า
ในการเลือกใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรได้กำหนดจุดประสงค์การสอนเสียก่อน เพื่อเป็นเครื่องชี้นำในการเลือกใช้สื่อการสอน
และควรมีหลักการในการเลือกใช้สื่อการสอน ดังนี้
1. เลือกใช้สื่อการสอนที่สัมพันธ์กับบทเรียนและตรงเป้าหมายกับเรื่องที่จะสอนตัวอย่างเช่น
ถ้าต้องการจะสอนแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย ก็ต้องเลือกใช้แผนที่ประเทศไทยที่แสดงอาณาบริเวณที่ปลูกข้าว
ไม่ใช่ใช้แผนที่ประเทศไทยแบบทั่วๆ ไป เป็นต้น
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ เทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเอง ควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
7. พิจารณาเลือกสื่อในปริมาณที่พอเหมาะที่จะใช้ประกอบการสอนอย่างแท้จริงไม่มากจนเกินไป
จนทำให้การเรียนการสอนส่วนอื่นบกพร่อง หรือเหลือใช้ในแต่ละชั่วโมงเรียน
8. เลือกสื่อการสอนที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้เรียน
ปราโมทย์ มุกดา (2554:ออนไลน์)
ได้เขียนบทความการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด
ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น
ๆเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา
เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยกระตุ้นความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
สรุปได้ว่า การเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆ
ดังนี้ (1) เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
(2) จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำบทเรียนและการประกอบคำอธิบาย
เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือใช้เพื่อสรุปบทเรียน (3) ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ แต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและให้ความหมายต่อการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง
และ (4) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภาย
นอกสถานศึกษา สื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่ หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง
5. ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
กิดานันท์ มลิทอง (2543: 107) กล่าวว่า ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนควรจะได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
การวางแผนอย่างเป็นระบบนี้ เราสามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า The ASSURE
model ของ Heinich และคณะเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน
รูปแบบจำลองนี้มีขั้นตอนดังนี้ คือ
1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Learner
Characteristics) เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า
ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน
ในเรื่องนี้ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียน ลักษณะทั่วไปได้แก่
อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียน
จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของ
บทเรียน และเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้สำหรับลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น
นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียน
ตลอดจนสื่อการสอน และวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์
ได้แก่
1.1 ทักษะที่มีมาก่อน (Prerequisite Skills) เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน หรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นอะไรบ้างก่อนที่จะเรียน
1.2 ทักษะเป้าหมาย (Target Skills) ผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่สอนนั้นมาก่อนหรือไม่ เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับที่วางจุดมุ่งหมายไว้
1.3 ทักษะในการเรียน (Study Skills) ผู้เรียนมีความสามรถขั้นต้นทางด้านภาษาการอ่านเขียน การคำนวณ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้นั้นในระดับมากน้อยเพียงไร
1.4 ทัศนคติ (Attitudes) ผู้เรียนมีทัศนคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจจะทำได้ยากเป็นบางครั้ง
ทั้งนี้เพราะผู้สอนอาจมีเวลาน้อยที่จะสังเกตหรือผู้เรียนอาจเป็นผู้มาจากที่อื่นที่เข้ามาเรียน
หรือรับการอบรม แต่ก็สามารถกระทำได้ด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่นๆ หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objectives) วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อคาดเพื่อคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถบรรลุถึงสิ่งใดหรือมีความสามารถใหม่อะไรบ้างในการเรียนนั้น
การตั้งหรือกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนี้เพื่อ
2.1 จะได้ทราบว่าการเรียนการสอนนั้นมีวัตถุประสงค์อะไรเพื่อสะดวกในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการให้ถูกต้อง
วัตถุประสงค์นี้จะช่วยผู้สอนในการจัดลำดับกิจกรรมการเรียนและสร้างสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น
2.2 ช่วยในการประเมินผลผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง เพราะผู้สอนจะไม่ทราบเลยว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อนช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือกระทำอะไรได้บ้าง
3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ (Select
Modify or Design Materials)การที่จะมีสื่อวัสดุที่
เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
3.1 เลือกจากสื่อการสอนที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำคือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อการสอนได้บ้างโดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของการเรียน
เช่นสื่อการสอนที่มีอยู่มีเนื้อหาข้อมูลและกิจกรรมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
และการเลือกสื่อการสอนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการสอนในบทเรียนและข้อจำกัดของสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย
3.2 ดัดแปลงสื่อการสอนที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อนั้นด้วย
เช่น มีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วบันทึกเสียงลงใหม่เพื่อให้ผู้เรียนชมและฟังเข้าใจง่ายขึ้น
จะคุ้มค่ากับเวลาและการลงทุนหรือไม่ เป็นต้น
3.3 การออกแบบสื่อใหม่ ในกรณีที่ไม่มีสื่อเดิมอยู่หรือสื่อที่มีอยู่แล้วไม่สามารถนำมาดัดแปลงให้ใช้ได้ตามที่ต้องการ
ผู้สอนย่อมต้องมีการออกแบบและจัดทำสื่อใหม่ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนและลักษณะของผู้เรียนมีงบประมาณในการจัดทำเพียงพอหรือไม่
มีเครื่องมือและผู้ชำนาญในการจัดทำสื่อการสอนหรือไม่เหล่านี้ เป็นต้น
4. การใช้สื่อ (Utilize Materials) เป็นขั้นตอนของการกระทำจริงซึ่งผู้สอนจะต้องทำตาม ดังนี้
4.1 ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
เช่น ดูสไลด์หรือวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เนื้อหาให้แม่นยำก่อนนำไปสอนหรืออ่านบทวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นร่วมด้วย
4.2 จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งต่างๆ
เพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อนการสอน และควรต้องทดลองอุปกรณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ได้ดีหรือไม่
4.3 ในการเตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อการสอนนำเข้าสู่บทเรียน
ถ้ามีการฉายวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์ให้ชมก็ควรจะสรุปเนื้อหาเรื่องที่จะชมนั้นให้ผู้เรียนทราบเสียก่อนว่าเกี่ยวข้องกับบทเรียนอย่างไรบ้าง
4.4 ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อการสอนที่นำเสนอนั้น
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require
Learner Response) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ซึ่งผู้เรียนจะมีการตอบสนองหรือไม่และมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสื่อที่นำมาใช้ สื่อบางชนิดเมื่อใช้แล้วจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากกว่าสื่อชนิดอื่น
เช่น การให้อ่านข้อความในหนังสือหรือดูรูปจะทำให้ผู้เรียนมีการอภิปรายจากสิ่งที่อ่านหรือเห็น
ผู้เรียนย่อมมีการตอบสนองเกิดขึ้นได้ทันทีและง่ายกว่าการให้ดูภาพยนตร์ ทั้งนี้เพราะการดูภาพยนตร์ถ้าจะดูให้รู้เรื่องจริงๆ
แล้วควรจะต้องดูให้จบเสียก่อนแล้วจึงอภิปรายกัน ซึ่งจะดีกว่าหยุดดูทีละตอนแล้วอภิปรายเพราะจะทำให้มีการขัดจังหวะเกิดความไม่ต่อเนื่องในการดูอาจทำให้ไม่เข้าใจหรือจับความสำคัญของเรื่องไม่ได้
นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถมีการตอบสนองโดยเปิดเผย (Overt Response) โดยการพูดออกมาหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน (Covert
Response) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่
การเรียนการสอนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปรายหรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการตอบสนอง และได้รับการเสริมแรงระหว่างการเรียนได้เป็นอย่างดี
6. การประเมิน (Evaluation) สามารถกระทำได้ใน
3 ลักษณะ คือ
6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อเป็นการประเมินว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ทั้งในด้านผู้สอน
สื่อการสอน และวิธีการสอน โดยในการประเมินสามารถทำได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการสอน
6.2 การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใดการวัดผลอาจทำได้ด้วยการทดสอบ
การสอบปากเปล่า หรือดูจากผลงานของผู้เรียนสิ่งสำคัญที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนมากน้อยเท่าใด
คือ สังเกตจากการปฏิบัติและการแสดงออกของผู้เรียนนั้น
6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อการสอนและเทคนิคการสอนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
จากขั้นตอนต่างๆ
ของ The ASSURE model จะเห็นได้ว่าเป็นแบบจำลองที่เน้นถึงการวางแผนการใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงของห้องเรียน
เพื่อให้ผู้สอนทุกคนสามารถนำแบบจำลองนี้ มาใช้ในการวางแผนการสอนประจำวันได้อย่างมประสิทธิภาพ
ดาว ใจสุยะ (2554:ออนไลน์) ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนว่า
ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวาง
ซึ่งสื่อต่างๆก็แตกต่างกันออกไปในการใช้งาน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องสามารถเลือกสื่อที่จะใช้ในการสอนให้ตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
เมื่อเลือกสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมแล้ว มิได้หมายความว่าสื่อนั้นจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุเป้
าหมายเสมอไป สื่อการสอนที่เลือกมาจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด นอกจากขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวอุปกรณ์เองแล้ว
ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นหลายประการ โดยเฉพาะเทคนิคการใช้ของครูแต่ละคนมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ผู้สอนจะต้องรู้ว่าจะใช้สื่อแต่ละชนิดเมื่อไหร่ อย่างไร จึงจะได้ผลเต็มที่ สื่อแต่ละชนิดมีเทคนิคการใช้ไม่เหมือนกัน
ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้ และต้องเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะด้วย
จึงจะเกิดผลดี การใช้สื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดี โดยทั่วไปมี 4 ขั้นตอนนั้นก็ คือ
1. ขั้นเลือกสื่อ
การเรียนการสอนการเลือกสื่อการเรียนการสอนนับว่ามีความสำคัญมาก สื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภท
หลายชนิด การนำเอามาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องพิจารนาตัดสินใจ
การเลือกสื่อมีหลักเกณฑ์คือ ต้องเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ว่าจะนำสื่อไปใช้ในด้านใด
เช่น จะนำมาใช้ประกอบคำอธิบาย หรือเพื่อสรุปบทเรียนสื่อแต่ละประเภทที่สร้างขึ้นมา ผู้สร้างจะต้องมีเป้
าหมายที่แน่นอน การเลือกสื่อต้องให้สอดคล้องกับเนื้อหา ว่าตัวสื่อนั้นมุ่งให้ข้อมูลในด้านใด
ให้เนื้อหาสาระตรงตามเนื้อหาที่จะสอนหรือไม่ ต่อมาต้องเลือกสื่อที่น่าสนใจ ต้องพิจารนาในด้านตัวอักษร
และความประณีต สิ่งเหล่านั้นจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน
ขั้นตอนต่อไปต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน เหมาะกับสติปัญญา ความสามารถ ความต้องการ
และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และการเลือกสื่อต้องเหมาะกับการใช้และการเก็บรักษา สื่อที่เหมาะต่อการสอนต้องไม่ยุ่งยากต่อการใช้
ให้ผลคุ้มค่า ไม่เสียเวลา เก็บรักษาง่าย ใช้ทน กะทัดรัด ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสาธิต
หรือการทอลองต้องมีประสิทธิภาพ เวลาใช้งานต้องไม่เกิดข้อผิดพลาด
2. ขั้นวางแผนเตรียมการใช้สื่อ
อย่างแรกต้องเตรียมตัวผู้สอน คือตัวผู้สอนต้องทำความรู้จักกับสื่อการเรียนการสอนในด้านลักษณะ
องค์ประกอบ หน้าที่การทำงาน เนื้อหา เพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องถ้าเป็นรูปภาพ
แผนภูมิ แผนภาพ ต้องอธิบายได้ ถ้าเป็นภาพยนตร์ต้องเข้าใจเรื่องราวเป็นอย่างดี ถ้าเป็นเครื่องมือต้องรู้จักองค์ประกอบ
หน้าที่ของส่วนต่างๆตลอดจนรู้วิธีใช้งานเมื่อทำความรู้จักกับสื่อแล้วต้องวางแผนการใช้สื่อ
โดยพิจารณาร่วมกับระบบการสอนว่า จะใช้สิ่งใด เมื่อไหร่ อย่างไรจะบังเกิดผลดีที่สุด
โดยกำหนดขั้นตอนการใช้ไว้อย่างชัดเจน เมื่อผู้สอนทำความรู้จักกับสื่อเสร็จก็มาถึงขั้นเตรียมสื่อการเรียนการสอน
คือให้ตรวจสภาพสื่อว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำไปใช้โดยไม่เกิดปัญหา เตรียมจำนวนสื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน
เตรียมสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนการสอน เพื่อสะดวกต่อการใช้หรือการนำออกแสดง
ซึ่งในการเตรียมนั้นจะต้องเตรียมครอบคลุมถึง (1) ผู้เรียน ผู้เรียนต้องเตรียมตัวเองก่อนเรียนหรือเตรียมบางสิ่งบางอย่างมาเอง
เช่น ผู้สอนจะบอกล่วงหน้าว่า เตรียมวัสดุบางอย่างเช่น
เตรียมเศษผ้าหรือ เชือกมา หรือเตรียมก่อนทำการสอน คือผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายการใช้สื่อ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) สถานที่ ต้องเตรียมห้องเรียนให้สอดคล้องกับการใช้สื่อ เช่นจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ให้เหมาะสม
ตรวจสภาพความพร้อมด้านต่างๆที่มีผลกระทบต่อการใช้สื่อ เช่น การใช้เครื่องฉายภาพ ต้องตรวจปลั๊กไฟ
การระบายอากาศ การควบคุมแสงภาพในห้อง
3. ขั้นนำสื่อไปใช้ตามแผน
ต้องใช้สื่อการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ตามวิธีการและเวลาที่กำหนดไว้
สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียน บางชนิดใช้ประกอบคำอธิบาย บางชนิดใช้สรุป บางชนิดใช้ในการประเมินผล
จึงควรคำนึงถึงเทคนิคการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อไปก็จะเป็นการจัดสภาพสื่อดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คือการควบคุมชั้นเรียนให้มีระเบียบวินัย พยายามให้ทุกคนมองเห็นได้ชัดเจน ให้เวลาเพื่อทำความเข้าใจพอสมควรหยุดบรรยายเมื่อมีเสียงรบกวนจากภายนอก
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ซักถามเมื่อมีปัญหาข้อข้องใจ
4. ขั้นวัดและประเมินผลการใช้สื่อ
ในขั้นนี้จะทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ในการใช้สื่อ ตามวิธีการที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
ได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอะไรควรปรับปรุงแก้ไขบ้าง โดยพิจารณาว่า ขั้นตอนการใช้เป็นไปตามแผนหรือไม่
พิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในการใช้สื่อ อาจใช้วิธีสอบถามผู้เรียน หรืออภิปรายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
พิจารณาด้านความเหมาะสมในการนำสื่อดังกล่าวมาใช้ช่วยในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความชัดเจน
ความน่าสนใจ ความพึงพอใจของผู้สอน และผู้เรียน ถามหรือใช้แบบสอบถามพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนเนื่องจากการใช้สื่อดังกล่าว โดยใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้
สรุปได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น
สิ่งสำคัญนอกเหลือจากการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมแล้วยังต้องใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการ คือ (1) การเลือกสื่อการสอน
มีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ สื่อที่จะนำมาใช้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตรที่กำหนด
เหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน (2) การเตรียมการสอน ครูต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่จะสอน
ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน การเตรียมการสอน จัดหาหรือผลิตสื่อการสอน วิธีการที่จะใช้สื่อการสอนให้ได้ผลดีนั้น
ผู้สอนต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้วย โดยการอธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าว่าใช้สื่อการสอนอะไร
เพื่ออะไร ใช้อย่างไร และผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในระหว่างการใช้สื่อการสอนอย่างไร และ
(3) การนำเสนอสื่อการสอน ครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น
การซักถาม อภิปราย การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยการโต้ตอบและอธิบายข้อซักถามของผู้เรียน
ชี้แนะสาระสำคัญ ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากสื่อนั้นๆ
ตลอดจนแนะนำการเรียนรู้จากสื่อ
แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
กิดานันท์
มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด
การปฏิบัติหรือสิ่งใหม่ๆ
ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เปรื่อง กุมุท
(2545) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง
การนำสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
Roger
(1971 : 19) กล่าว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การกระทำ
หรือสิ่งของที่บุคคลเห็นว่าเป็นของใหม่ ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นของใหม่นั้นหรือไม่
โดยใช้ความคิดเห็นและการตัดสินใจของตนเอง
ถ้าบุคคลนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา คำว่า “ใหม่”
ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นความรู้ใหม่ครั้งแรก
แต่หมายถึงการที่บุคคลได้รับรู้ในเรื่องเดิมมากขึ้น
หรือเป็นความคิดใหม่ในเรื่องเจตคติ หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะใช้นวัตกรรมนั้น
สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด
การปฎิบัติหรือสิ่งใหม่ๆ
ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจจะเคยใช้ในสังคมอื่นๆได้ผลแล้วจึงนำมาใช้ใหม่อีกสังคมหนึ่ง
หรือเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เคยปฎิบัติมาแต่เดิมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น
การพิจารณานวัตกรรม
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37) ได้กล่าวถึงเกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ
4 ประการคือ
1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม
2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ
นั้น ๆ
3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น
ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น
ๆ ได้รับการนำเอาไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น
ๆ นับเป็นเทคโนโลยี
อภิญญา ซอหะซัน (2537 : 143) ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรมทางเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. เป็นแนวคิด วิธีการ วัสดุและอุปกรณ์ หรือเครื่องมือใหม่ๆ
2. เป็นของที่มีอยู่เดิม แต่ได้ผ่านการปรับปรุงจัดระบบใหม่
3. เป็นของเดิม แต่นำมาใช้ใหม่ หรือในสถานการณ์ใหม่
4. นำมาใช้อย่างเป็นระบบ และให้ผลต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า
การพิจารณานวัตกรรม ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ 1)เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 2)
เป็นของที่มีอยู่เดิม แต่ได้ผ่านการปรับปรุงจัดระบบใหม่ หรือนำมาใช้ใหม่
หรือสถานการใหม่ 3) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการนั้น
ๆ 4)มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
นวัตกรรมการศึกษา
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542) กล่าวว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา กล่าวว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา
และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว
และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
(Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้ เป็นต้น
จากความหมายที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ จึงพอสรุปได้ว่า “นวัตกรรมการศึกษา” หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด
หรือการปฎิบัติ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความสำคัญของนวัตกรรมต่อการศึกษา
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ได้กล่าวกับความสำคัญของนวัตกรรมต่อการศึกษาดังนี้
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียน
การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษา
เพื่อช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา
วุทธิศักดิ์
โภชนุกูล ได้กล่าวกับขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษาดังนี้
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทามาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอน
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
คุณลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการศึกษา
วุทธิศักดิ์
โภชนุกูล คุณลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์โดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนในสภาพจริง
2. เข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม และสอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
3. ไม่มีความซับซ้อน ง่ายและสะดวกในการนำไปใช้
4. สามารถทดลองใช้ หรือทดสอบได้
5. สามารถสังเกตเห็นรูปแบบหรือผลที่เกิดจากนวัตกรรมได้อย่างชัดเจน
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2551 ได้กล่าวเกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ดังนี้
ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์
ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล
เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์
วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ตามศักยภาพ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนดังนี้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
การดำเนินการต่าง
ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (visualization)
ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
สาระที่ ๔ พีชคณิต
มาตรฐาน ค ๔.๑ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)
ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค ๔.๒ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ
และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมาย
และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค ๕.๒
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ ๖
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง
ๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
หมายเหตุ ๑. การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น
จะต้องให้มีความสมดุลระหว่างสาระด้านความรู้
ทักษะและกระบวนการ ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ได้แก่ การทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
๒.
ในการวัดและประเมินผลด้านทักษะและกระบวนการ สามารถประเมินในระหว่าง การเรียนการสอน
หรือประเมินไปพร้อมกับการประเมินด้านความรู้
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
มีความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งแสนและศูนย์ และการดำเนินการของจำนวน
สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหาร
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง น้ำหนัก ปริมาตร ความจุ
เวลาและเงิน สามารถวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
และนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก รวมทั้ง จุด ส่วนของเส้นตรง
รังสี เส้นตรง และมุม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูป และอธิบายความสัมพันธ์ได้รวบรวมข้อมูล
และจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
และอภิปรายประเด็นต่าง ๆ จากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มีความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์
เศษส่วน ทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง ร้อยละ การดำเนินการของจำนวน
สมบัติเกี่ยวกับจำนวน สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ
และการหารจำนวนนับ เศษส่วน ทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง และร้อยละ
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
สามารถหาค่าประมาณของจำนวนนับและทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตร
ความจุ เวลา เงิน ทิศ แผนผัง และขนาดของมุม
สามารถวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
และนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
ปริซึม พีระมิด มุม และเส้นขนาน
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูปและอธิบายความสัมพันธ์ได้
แก้ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป
สามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหาพร้อมทั้งเขียนให้อยู่ในรูปของสมการเชิงเส้นที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัวและแก้สมการนั้นได้
รวบรวมข้อมูล
อภิปรายประเด็นต่าง ๆ จากแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
แผนภูมิรูปวงกลม กราฟเส้น และตาราง
และนำเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
และกราฟเส้น
ใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นเบื้องต้นในการคาดคะเนการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่าง
ๆ ได้
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน
สัดส่วน ร้อยละ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง สามารถดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เศษส่วน
ทศนิยม เลขยกกำลัง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ปัญหา
และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิตจริงได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ผิวของปริซึม
ทรงกระบอก และปริมาตรของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย
และทรงกลม เลือกใช้หน่วยการวัดในระบบต่าง ๆ เกี่ยวกับความยาว พื้นที่
และปริมาตรได้อย่างเหมาะสม
พร้อมทั้งสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในชีวิตจริงได้
สามารถสร้างและอธิบายขั้นตอนการสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้วงเวียนและสันตรง
อธิบายลักษณะและสมบัติของรูปเรขาคณิตสามมิติซึ่งได้แก่ ปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก
กรวย และทรงกลมได้
มีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการและความคล้ายของรูปสามเหลี่ยม
เส้นขนาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ
และสามารถนำสมบัติเหล่านั้นไปใช้ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต(geometric
transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน(translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้
สามารถนึกภาพและอธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติสามารถวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูป สถานการณ์หรือปัญหา
และสามารถใช้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
และกราฟในการแก้ปัญหาได้
สามารถกำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์
กำหนดวิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม
หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมได้
เข้าใจค่ากลางของข้อมูลในเรื่องค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน
และฐานนิยมของข้อมูลที่ยังไม่ได้แจกแจงความถี่ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
รวมทั้งใช้ความรู้ในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารทางสถิติ
เข้าใจเกี่ยวกับการทดลองสุ่ม เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์และประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้
หลักการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
จำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ หาค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังโดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสมและสามารถนำสมบัติของจำนวนจริงไปใช้ได้
นำความรู้เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติไปใช้คาดคะเนระยะทาง ความสูง
และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
มีความคิดรวบยอดในเรื่องเซต การดำเนินการของเซต และใช้ความรู้เกี่ยวกับแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์แสดงเซตไปใช้แก้ปัญหา
และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผล
เข้าใจและสามารถใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยได้
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
สามารถใช้ความสัมพันธ์และฟังก์ชันแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
เข้าใจความหมายของลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต
และสามารถหาพจน์ทั่วไปได้ เข้าใจความหมายของผลบวกของ n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต อนุกรมเรขาคณิต และหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิตโดยใช้สูตรและนำไปใช้ได้
รู้และเข้าใจการแก้สมการ และอสมการตัวแปรเดียวดีกรีไม่เกินสอง รวมทั้งใช้กราฟของสมการ
อสมการ หรือฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
เข้าใจวิธีการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย
เลือกใช้ค่ากลางได้เหมาะสมกับข้อมูลและวัตถุประสงค์
สามารถหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล และนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจ
เข้าใจเกี่ยวกับการทดลองสุ่ม เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ ประกอบการตัดสินใจ
และแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้
หลักการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สรุปได้ว่า ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น
เกิดจากการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์
จนกระทั้งเกิดจากค้นพบ สิ่งที่เป็นองค์ประกอบในการส่งเสริมการเรียนรู้และสามารถนำคณิตศาสตร์นำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้น
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมถึง
ซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระของกลุ่มคณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ที่กำหนดไว้
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กระทรวงศึกษา
(2551) กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างสาระด้านความรู้
ทักษะและกระบวนการควบคู่
ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ได้แก่ การทำงานอย่างเป็นระบบ
มีระเบียบ มีความ
รับผิดชอบ มีความรอบคอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมัน/ ในตนเอง พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจต
คติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2547) ได้กล่าวถึง การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. กระบวนการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวุฒิภาวะของผู้เรียน
2. การจัดเนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ต้องคำนึงถึงความยากง่าย
ความต่อเนื่อง และลำดับขั้นของเนื้อหา
3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ต้องคำนึงถึงลำดับของการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยให้รักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ควรจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่
สมดุลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
4.1 ด้านความรู้ ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินการ
การวัด
เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
4.2 ด้านทักษะและกระบวนการ ประกอบด้วย การแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนำเสนอ การเชื่อมโยง ความคิดสร้างสรรค์
4.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ประกอบด้วย ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที/ดีต่อคณิตศาสตร์ ความสามารถทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบวินัย รอบคอบ มีความรับผิดชอบ
มี
วิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนการสอน รวมทั้ง
อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น
6. การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ควรมีการประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์ เช่น สถานศึกษา
โรงเรียน บ้าน สมาคม ชุมชน ห้องสมุด ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ศึกษานิเทศก์
และภูมิปัญญา ท้องถิ่น เป็นต้น
7. ผู้สอนจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลายรูปแบบจัดให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเหมาะสมกับผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนผู้สอนต้องพยายาม
คัดสรรกระบวนการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ทั้ง 8 กลุ่มสาระเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
พัฒนาทักษะต่าง ๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญที/ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551ข, หน้า 25) ดังนี้
1. หลักการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้
สมรรถนะสำคัญ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยยึดหลักว่า
ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน
กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม
2. กระบวนการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เป็น
เครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน
อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ การะบวนการคิด กระบวนการทางสังคม
กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ
ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง
กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย
กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนา
เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น
ผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษา
ทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์
แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพและบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนด
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวัดผลและประเมินผลด้านทักษะและกระบวนการสามารถประเมินในระหว่างการเรียน
การ
สอน หรือประเมินไปพร้อมกับการประเมินด้านความรู้กระทรวงศึกษาธิการ
(2547 หน้า 6) ได้เสนอแนว
ทางการวัดผลประเมินผล คณิตศาสตร์ ดังนี้
1. ผู้สอนไม่ควรมุ่งวัดแต่ด้านความรู้เพียงด้านเดียว ควรจัดให้ครอบคลุมด้านทักษะ
/
กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมด้วย ทั้งนี้ต้องวัดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการ
เรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2. การวัดผลและการประเมินผล ควรใช้วิธีการที่หลากหลายสอดคล้องและเหมาะสมกับ
วัตถุประสงค์ของการวัด เช่น การวัดเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาผู้เรียน
การ
วัดผลเพื่อวินิจฉัยหาจุดบกพร่องของผู้เรียน การวัดผลเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน
การประเมินผล
ตามสภาพที่แท้จริง โดยใช้วิธีการสังเกต แฟ้มสะสมผลงาน โครงงานคณิตศาสตร์
การสัมภาษณ์ เป็นต้น
3. ควรมุ่งเน้นการวัดสมรรถภาพโดยรวมของผู้เรียนเป็นหลักและผู้สอนต้องถือว่าการวัดผลและ
การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
4. หัวใจของการวัดผลประเมินผลไม่ใช่อยู่ที่การวัดผลเพื่อประเมินตัดสินได้หรือตกของผู้เรียนเพียงอย่างเดียว
แต่อยู่ที่การวัดเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญในการจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวุฒิภาวะของผู้เรียน
โดยจัดเนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความต่อเนื่อง และลำดับขั้นของเนื้อหา
เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยให้รักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร และในการวัดผลประเมินผลควรใช้วิธีการที่หลากหลายสอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวัด
เพื่อวินิจฉัยหาจุดบกพร่องของผู้เรียนและนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
การนำสื่อ และนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การนำสื่อและนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
จะต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนของเยาวชนในศตวรรษที่
21 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้นตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและเพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีศักยภาพในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา
สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้
โดยการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาสื่อและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่รวดเร็ว
เกิดทัศนคติการเรียนรู้ที่ดี และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต
(Internet) เหล่านี้ เป็นต้น
หนังสืออ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง (2543) เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม
กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
http://www.edurmu.org/cai/_somsong/elearning/
content/lesson4/406.html สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
______________. “เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย”
กรุงเทพมหานคร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2540
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๕). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย.
กรุงเทพฯ :
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ (2552) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
______________(2545) คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กรุงเทพฯ
คุรุสภาลาดพร้าว
______________ (2546) สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ คุรุสภา ลาดพร้าว
______________ (2546) “สภาพการใช้สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของ
โรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนเครือข่ายแกนนำการ
ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน” รายงานการวิจัยกองวิจัยทางการศึกษา
กรมวิชาการ
______________ (2548) รวมกฎหมายเพื่อบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์อักษรไทย
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ :
นานมีบุ๊คส์
พับลิเคชั่นส์.
จริยา เหนียนเฉลย. (2535). เทคโนโลยีการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ดาว ใจสุยะ
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=793
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555
ทัศนา สุดใจ. (2552). ความหมายและความสำคัญของสื่อ.เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
2558.
จาก https://www.l3nr.org/posts/260089
เทวิน ศรีดาโคตร. (2552). ระบบและความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน . เข้าถึงเมื่อวันที่
10 ธันวาคม
2558. จากเอ็ดการ์ เด็ล http://www.lib.ubu.ac.th/techno/Down%20Load/bod39.pdf
พรจิต สมบัติพานิช.
(2547). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010 : การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อ
รูปแบบโฆษณา.
วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะสารสารศาสตร์และสื่อมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์(2526) . ขอบข่ายและบทบาทเทคโนโลยีการศึกษา.
กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปรื่อง กุมุท. อย่างไรคือนวัตกรรม : แง่คิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา. แหล่งที่มา
http://senarak.tripod.com/inno2.html
[2544, ธันวาคม 14]
ปราโมทย์ มุกดา
http://www.pramot.com/main/index.php/education-corner/103-teaching-media
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน
2555
ไพโรจน์ คะเชนทร์. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์.เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม
2558.
จาก www.wattoongpel.com
ยุพิน พิพิธกุล, และ อรพรรณ ตันบรรจง.
(2535) . เทคโนโลยีในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
ม.ป.ท.
ยุพิน พิพิธกุล ( 2545) การเรียนการสอนยุคปฏิรูปการศึกษา
กรุงเทพมหานคร บพิธการพิมพ์
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้
Instructional and Innovation for
Learning , ปทุมธานี สกายบุ๊กส์
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน.อาจารย์ประจำภาควิชา
เทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ .มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
สุโชติ ดาวสุโข และสาโรจน์ แพ่งยัง. (2535). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุลักษณี รัตนะ (2544) “สภาพปัญหาและความต้องการการวางแผนการใช้สื่อการสอนของอาจารย์วิทยาลัย
อาชีวศึกษา กลุ่มภาคใต้”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547) การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้
สู่...การพัฒนา
ผู้เรียน ราชบุรี บริษัทธรรมรักษ์การพิมพ์ จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
(2535) คู่มือการขอกำหนดตำแหน่งกรุงเทพมหานคร
บริษัทฉลองรัตน์
จำกัด
สำลี รักสุทธี (2553) คู่มือการจัดทำสื่อ นวัตกรรมและแผนฯประกอบสื่อ นวัตกรรม
กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550). หลักการสอน พิมพ์ครั้งที่
4 กรุงเทพมหานคร โอเดียนสโตร์
A. J. Romiszowski. (1992). ความหมายของสื่อเพื่อ(การศึกษา)การเรียนรู้[ออนไลน์]. สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558.จากhttp://www.bangkokeducation.in.th/article-
details.php?id=324
Heinich และคณะ. (1996). ความหมายของสื่อเพื่อ(การศึกษา)การเรียนรู้[ออนไลน์]. สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558.จากhttp://www.bangkokeducation.in.th/article-
details.php?id=324
Rogers, Everett M. and snoemaker, F. Floyd. Communication of
Innovations : A cross Cultural
Approch. New
York: The Free Press, 1971.